วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

วิจัย วิทยาศาสตร์



สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

วัน พุธ ที่ 7 มกราคม 2558


เรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย : ลำดวล  ปั่นสันเทียะ
มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

ความสำคัญของการวิจัย

1. เป็นการเผยเพ่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
2. เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบกาารณ์เพื่อเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวทางการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3. เป็นการส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ความมุ่งหมายของการวิจัย

         เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนทอดลองและหลังทดลอง


ประชากรที่ใช้ในการทดลอง

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 15 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์แบบโครงกา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา 
2.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เด็กปฐมวัยแสดงด้วยตนเองในการแสวงความรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ 6 ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา
2.1 ทักษะการสังเกต ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ็นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ้งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้โดยไม่ใส่ความคิดเหน็ไรลงไป
2.2ทักษะการจำแนกประเภท มีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความต่างและความสัมพันธ์โดยใช้เกณฑ์ที่ใช้ประสาทสัมผัสส่วนไดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2.3ทักษะการวัด ได้แก่ สายวัด ไม่บรรทัด และเครื่องมืออื่นๆ วัดปริมาณสิ่งของที่ต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง
2.4ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการทดลองและการทำกิจกรรมต่างๆที่ไปสัมพันธ์ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อมูลสรุปหรืออธิบาย ปรากฏการณ์นั้นๆ
2.5ทักษะการสื่อสารความหมาย หมายถึง การทดลองหรือการทำกิจกรรมอื่ๆมาจัดทำและเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาจัดให้มีความสัมพันธ์ให้ง่ายต่อการแปลความหมาย ในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หนังสือและนิทรรศการ โดยทั้งหมดมีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนสามารถสือความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2.6ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นส่วนหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ซ้ำๆ จากความรู้ที่มีมาก่อน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
2.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ระยะเวลาการทดลอง

       การทดลองครั้งนี้ทำในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 ใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ เวลาในการทำกิจกรรมหรือจัดประสบการน์ในแต่ระวัยยึดยุ่นตามลักษณะกิจกรรมและความสนใจของเด็กโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการเข้ามาจัดในกิจกรรมวงกลม

สรุปการวิจัย
          ภายหลังการสังเกตการส่งเสริมทักษะของการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กได้มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์





วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15


บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 15

 วัน พฤหัสบดี  ที่  4  พฤศจิกายน  พ. ศ. 2557

   กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้
การนำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย
ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
ตัวแปรต้น => กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คาถาม
ตัวแปรตาม=> คือ การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสาหรบเด็กปฐมวัย
กิจกรรม => ไข่หมุน
1. ไข่ต้มสุก
2. ไข่ดิบ
ทักษะวิทยาศาสตร์
- การสังเกต
- การเปรียบเทียบ
กิจกรรมที่ได้ทำในห้องเรียนวันนี้ 
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม  เเจกกระดาษA4 พร้อมบอกรายละเอียดขั้นสอน การเขียนวารสารถึงผู้ปกครอง โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. พับกระดาษให้ได้สามส่วน
2. ด้านนอกหน้าปก
- วาดสัญลักษณ์โรงเรียน 
- ชื่อโรงเรียน
- ชื่อหน่วย
- วาดรูปหน่วยที่จะสอน เช่น หน่าวข้าว
- ชื่อนักเรียน
- ชื่อคุณครูประจำชั้น                                                                       
3. ด้านใน
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- วัตถุประสงค์
- สาระที่ควรเรียนรู้
- ขอความร่วมมือถึงผู้ปกครอง

- สื่อการใช้จัดกิจกรรม เช่น เพลง นิทาน คำคล้องจอง 
4. ด้านนอก
- เกมที่เกี่ยวกับหน่วยข้าว
  
อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดในเเต่ละทำการเขียนวารสารถึงผู้ปกครอง

วารสารหน่วยข้าว






                                                          เทคนิกการสอน
1.อาจารย์ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้วยตนเอง โดยสรุปความรู้ของวิจัยเรื่องที่หาแแล้วนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟัง
2.ทักษะการคิดออกเเบบสื่อวารสารถึงผู้ปกครองตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
3.ทักษะการออกไปพูดหน้าชั้นเรียน น้ำเสียง กิริยาท่าทางในการยืน 
4.ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ เกิดความสงสัย  เเล้วคิดหาคำตอบ
        การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
1.การนำความรู้ในเรื่องการเขียนวารสารถึงผู้ปกครองไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้ 
2.เราสามารถบอกวิธีการเขียนวารสารที่ถูกต้องให้กับผู้อื่นได้
3.ได้การทำงานร่วมกันในกลุ่ม โดยเเบ่งหน้าที่กัน คอยช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน และเเสดงความคิดเห็นระหว่างกันในกลุ่ม
4.การช่วยกันระดมความคิดในการเขียนวารสารถึงผู้ปกครอง

                                                                       ประเมิน
1.ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัย พร้อมจดบันทึก ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียนวารสารถึงผู้ปกครอง เเละร่วมกันระดมสมองในกลุ่มเขียนวารสาร ช่วยกันคิด ออกเเบบสื่อวารสารให้มีความน่าสนใจเเละตรงตามข้อมูลที่อาจารย์กำหนดให้ในวารสาร ซึ่งวารสารที่อาจารย์เป็นกิจกรรมที่ดี ที่เราสามารถเขียนถึงผู้ปกครองในการขอความร่วมมือจากผู้ปกครองได้ เช่น การจัดประสบการณ์
ต่างๆ 
2.ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการเขียนวารสาร พ้อมจดบันทึกข้อมูล และให้ความร่วมมมือในการทำวารสารถึงผู้ปกครอง
3.ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลามากๆ เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าด้วยตนเอง และออกมานำเสนองาน อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เเละมีการสอนที่เป็นลำดับขั้น เช่นวันนี้อาจารย์สอนเขียนวารสาร อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนให้นักศึกษาดูก่อน พอนักศึกษาเริ่มเขาใจเเล้ว อาจารย์ก็ให้จับกลุ่มแล้วช่วยกันระดมความคิด แล้วอาจารย์ก็จะเดินดูนักศึกษาเเต่ละกลุ่มเขียน ถ้าใครไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายรายละเอียดให้ฟังทันที ทำให้นักศึกษาเข้าใจการเขียนวารสารมากขึ้น ทำให้เขียนออกมาถูกต้อง เเละสุดท้ายจากการเขียนวารสารเสร็จ อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับสรุปเขียนวารสารนักศึกษาให้ฟัง ซึ่งเป็นการสอนที่ดี 

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14



บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 14

วัน  พฤหัสบดี  ที่ 27   พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียนการสอนของวันนี้ 
การนำเสนองานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต
2.การจำเเนก
3.การวัด
4.การหามิติสัมพันธ์
             = > ตัวเเปรต้น ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             = > ตัวเเปรตาม ทักษะทางวิทยาศาสตร์

ทักษะวิทยยาศาสตร์
1. การสังเกต
2.การกะประมาณ
3.การเปลี่ยนเเปลง

การทดลอง สนุกกับน้ำ
ทักษะวิทยาศสตร์
1. การจำเเนกประเภท
2.การจัดประเภท
3.อนุกรม 

4. วิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต และการจำเเนกของเด็กปฐมวัย

ทักษะวิทยาสาสตร์ที่ได้รับ
1. การสังเกต
2.การจำเเนก
3.การเเบ่งปริมาตร
4.การสื่อความหมาย
5.การหามิติสัมพันธ์
6.การลงความเห็น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู
1.จุดประกายนักซิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน
การทดลอง
2. สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
6. ขวดปั๊ม และลิปเทียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

1. อาจารย์ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ในเรื่องงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
2. นักศึกษาได้ทักษะการออกไปพูดหน้าชั้นเรียน การออกเสียง การใช้น้ำเสียง ที่มีความถูกต้อง ชัดเจน บุคลิกภาพในการยืนพูด ท่าทางกิริยาการยืนพูดอยู่หน้าชั้นเรียน และการถ่ายทอดความรู้ต่างๆให้เพื่อน และอาจารย์ได้ฟังจากข้อมูลงานที่สรุปมา
3.ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์  และการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปดัดแปลงต่อยอด และสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย

                                                          เทคนิกการสอน
1.สามรถนำความรู้ของกิจกรรมวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
3.นำทักษะการพูดไปปรับใช้ในการฝึกฝนตนเองให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีการใช้น้ำเสียงที่ถูกต้องเเละชัดจน
4.นำความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยได้

ประเมิน
1.ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลาเเต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนอวิจวิทยาศาสตร์ กับโทรทัศน์ครู ที่มีเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่างๆที่เราสามารถนำความรู้การจัดกิจกรรมมาดัดเเปลงและต่อยอดให้กิจกรรมมีความน่าสนใจเเละเหมาะสมกับเด็ก
2.ประเมินเพื่อน: เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนตั้งใจเรียน และฟังเพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัยกับโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย
3.ประเมินอาจารย์: เข้าสอนตรงเวลาเเต่งกายสุภาพอาจารย์ให้คำเเนะนำพร้อมพูดสรุปความรู้ที่นักศึกษาได้ออกไปพูดหน้าชั้นเรียนในงานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนๆได้พูดเพื่อให้เพื่อนๆนักศึกษาคนอื่นเข้าใจเนื้อหาความรู้ง่ายขึ้นและอาจารย์ก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามเพื่อนๆ





วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


วัน  พฤหัสบดี  ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


 เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนของวันนี้

กิจกรรมที่ 1 วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นที่เป็นสื่อวิทยาศาสตร์มาส่ง แล้วให้นำไปวางเป็นหมวดหมู่ของเเต่ละประเภทในทางวิทยาศาสตร์  

การเกิดจุดศูนย์ถ่วง

การใช้เเรงดันลม/อากาศ

การเกิดเสียง

 การใช้พลังงาน/การเกิดเเรง


 จัดเล่นตามมุม


 การใช้เเรงดันน้ำ คือ สปริงเกอร์

กิจกรรมที่ 2  การนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย 
 วิจัยเรื่องที่ ภ  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย: ณัฐชุดา สาครเจริญ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทักษะวิทยาสาสตร์ทั้ง 6 ด้าน คือ
1.การสังเกต
2.การจำเเนก
3.การวัด
4.มิติสัมพันธ์
5.การสื่อสาร
6.การลงความเห็น

รูปเเบบศิลปะสร้างสรรค์ 6 รูปเเบบที่นำมาจัดประสบการณ์
1.ศิลปะย้ำ
2.ศลปะปรับภาพ
3.ศิลปะเลียนเเบบ
4.ศิลปะถ่ายโยง
5.ศิลปะบูรณาการ
6.ศิลปะค้นหา

มโนทัศน์ คือ เเนวคิด
กิจกรรมการสอนเสริมประสบการณ์ เช่น การทำอาหารที่ใช้อุปกรณ์ในห้องครัว


 วิจัยเรื่องที่ 2 ผลการบันทึกการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

มิติสัมพันธ์ ความสามารถในการมองเห็น  การเข้าใจ และการจำเเนก

การจัดกิจกรรม
 การให้เด็กทดลอง    
 การสื่อความหมาย 
 การวาดภาพระบายสี
 การบันทึก


วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ผู้วิจัย:  เสาวภาคย์ สว่างจันทร์
พัฒนาทักษะ การจำเเนก การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การหาความสำคัญ การจัดหมวดหมู่
เครื่องมือวัด คือ แบบประเมินการจะเเนก การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์
การสอนเเบบสืบเสาะ
1. ครูเเละเด้กร่วมกันตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์
2. สำรวจ ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูล
3. หาคำตอบพร้อมอธิบาย
4. การนำเสนอ
คำถาม : หน่วยฝน เด็กๆรู้จักบรรยายกาศก่อน และ หลังฝนตกไหม แล้วเป็นบรรยายกาศอย่างไร

 วิจัยเรื่องที่ 4 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 6 ด้าน
1. การสังเกต
2. การจำเเนก
3. การเเสดงปริมาณ
4. มิติสัมพันธ์
5. การสื่อความหมาย
6. การเเสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 3 การทำCooking เมนูการทำขนมวาฟเฟิล

อุปกรณ์ 
1.ที่ตีไข่
2.ชามขนาดใหญ่
3.ถ้วยเล็ก
4.ช้อน
5.จาน
6.ไข่ไก่
7.เเป้งวาฟ
8.เฟิลน้ำ
9.เนย
10.เตาที่ทำวาฟเฟิล
                                                        
ขั้นตอนการทำ
1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ ถ้วย/ชามขนาดใหญ่  ช้อน ที่ตีไข่ เเป้งวาฟเฟิล เนยที่ทำขนม จาน เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
2. ขอตัวเเทนอาสาสมัครมาใช้ครูจัดของเเบ่งออกให้เป็น 6 กลุ่ม
3. ให้ตัวเเทนอกมารับอุปกรณ์ แล้วก็ช่วยกันทำ เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ตีไข่ให้คนเข้ากัน ใส่เนยลงไปตีให้ละเอียด แล้วค่อยๆเทเเป้งวาฟเฟิลลงไปพร้อมกับใส่น้ำที่ละนิดคนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน พอเสร็จเรียบร้อยเเล้วก็ตักใส่ถ้วยเล็กๆไว้ตามจำนวนกลุ่มของตนเอง เเล้วนำมาเทลงบนเตาที่ทำวาฟเฟิลปิดเตาไว้รอจนสุกได้ที่ แล้วก็นำมาใส่จานรับประทานได้เลย

ประเมิน
1. ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอวิจัย ซึ่งเป้นวิจัยที่มีเนื้อหาสาระที่ดีเหมาะกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยทางด้านวิทยาศาสตร์ มีตัวอย่างการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เราสามารถนำไปเป็นโครงเรื่องในการเขียนเเผนการสอนให้กับเด็ก เเละวันนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งจากอาจารย์  คือการจัดกิจกรรมการทำCooking ทำขนมวาฟเฟิลที่มีวิะีการทำไม่ยุ่งยากเเละไม่สับซ้อนเหมาะกับไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งเนื้อหาความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ดิฉันจดบันทึกว้เพื่อที่จะได้นำไปใช่ในการฝึกสอนในอนาคตได้
2.ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สนุกสนานกันในการเรียนวิชานี้
3.ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามาก เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีเทคนิควิธีการสอนดีมาก มีการเเนะนำวิจัยการพูดหน้าชั้นเรียน และอธิบายงานวิจัยเพิ่มเติมจากที่เพื่อนพูด เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น มีการใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ และทบทวนความรู้ในงานวิจัยของเพื่อนๆ  มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking ที่ไม่ให้นักศึกษาเกิดความวุ่นวายเลย มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอสำหรับเด็ก มีการสาธิตวิธีการทำให้นักศึกษาได้ดู และมีพูดถึงข้อควรระวังในความปลอดภัยในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรมมากยิ้มหัวเราะกันอย่างมีความสุขในช้้นเรียน

สรุปความรู้เรื่องอากาศ



สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)
                                        

อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่
ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่
รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ใน
บ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น
ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ
ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ
ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)                                    
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา
แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น
มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก
เป็นต้น
ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง
บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก
ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด
ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น
จำนวนมาก
อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ
สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์
เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย
ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ
ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ
ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ
อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้
อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้
ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว
โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ
ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

                                                                                       
บันทึกการเรียนการรสอนครั้งที่ 12




วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


เนื้อการเรียนวันนี้ การพูดสรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เเบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม5เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ

สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เเผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ผลการวิจัยสรุป
         กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทาน ซึ่งนิทานเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เมื่อฟังนิทานจบเด็กได้ประดิษฐ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

 วิจัยเรื่องที่ 3 การศึกษาผลของรูปเเบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง

สรุปผลการวิจัย           วิจัยการศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ทำการทดสอบด้วยเเบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์ เมื่อเสณ้จการทดลองก็นำเเบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งเเล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ


ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 
 2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร

สรุปผลการวิจัย
1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจ าแนกรายทักษะ หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยูมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วิจัยเรื่องที่ 5 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

เครื่องที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
  • การจำเเนก
  • การวัดปริมาณ
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การลงความเห็น
สรุปผลการวิจัย
เน้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำมาเล่นตามจินตนาการ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนของจอห์น ดิวอี้

วิจัยเรื่องที่ 6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร

     การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง 1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง (Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยาง และดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่อดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลที่ไดจาก การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ  

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุดได้เเก่
1 แบบทดสอบด้านการจำเเนก 
2 การจัดประเภท  
3 อุปมาอุปมัย  
4 อนุกรม 
5เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

เทคนิกการสอน
1.การสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง
2.การสรุปผลคิดวิเคาระห์เนื้อหาความรู้ในงานวิจัย
3.การถ่ายทอดความรู้เนื้อหาในงานวิจัยจากการสรุปผล แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกเกิดความคิดและเกิดความสงสัยอยากรู้อยากเห็นในการจะศึกษาค้นข้อมูลความรู้เพิ่มเติม
5.การให้คำเเนะนำในการออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และคำเเนะนำในเนื้อหาความรู้ของงานวิจัยที่นักศึกษาได้สรุปผล

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การนำความรู้ในงานวิจัยทางวิทยาสตร์ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความเนื้อหาที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
2.การนำงานวิจัยมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การสอนเด็กในเรื่องธรรมชาติรอบๆตัวที่เราสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาต่างๆได้
4.การนำงานวิจัยปรับใช้ให้ง่ายขึ้นต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5.การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก

ประเมิน