วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความวิทยาศาสตร์


ดินมหัศจรรย์ ชั้นเรียนวิทย์บูรณาการของเด็กน้อยเมืองเชียงใหม่


                            


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งเสริมให้ชั้นเรียนอนุบาลหนึ่งมีการบูรณาการการเรียนรู้ ตามแนวทาง “สะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ซึ่งเด็กวัยอนุบาลเรียนรู้กันได้ง่ายๆ
22092557 6
         วันนี้จะพาไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ชั้นเรียนอนุบาล 2 ของครูฐิติรัตน์ นาคทรัพย์ ซึ่งได้พาเด็กๆ วัยซนเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ดินมหัศจรรย์ ซึ่งเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ลงความเห็นกันว่าสนใจเรียนรู้ คือ เรื่อง “เครื่องปั้นดินเผา”
          ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ สัปดาห์แรก ครูตั้งคำถามต่อไปว่า “ก่อนจะมาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้นั้น ต้องมีสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ และเครื่องปั้นดินเผาทำมาจากอะไร” นั่นถือเป็นที่มาถึงเรื่องที่เด็ก ๆ ต้องการจะศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้ คือ เรื่อง “ดินมหัศจรรย์” โดยเด็ก ๆ ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง “ดิน” หลากหลายคำถาม
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ครูเปิดวิดีโอเพลง “ของขวัญจากก้อนดิน” ครูนำดินใส่โหลสีใสมาให้เด็ก ๆ ได้ดูอย่างใกล้ชิดพร้อมร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน และเด็กๆ หาความรู้เพิ่มเติมหลากหลายวิธี ได้แก่
         สืบค้นด้วยตนเองโดยใช้แว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน กิจกรรมกลุ่มให้เด็ก ๆ วาดรูปสิ่งต่าง ๆ ที่พบเจอในโหลสีใสให้ชัดเจนและร่วมแบ่งปันภาพวาดนั้นให้กับเพื่อน ๆ ได้พร้อมนำเสนอในห้องทีละกลุ่ม สอบถามผู้รู้ คือ คุณครูในห้องเรียนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พบเจอในโหลสีใส โดยการตั้งคำถาม เด็กและครูทบทวนความหมายของดินและการเกิดดินที่ได้เรียนไปเมื่อวานผ่านชาร์ตการเกิดดินร่วมกัน
22092557 7ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่อง “ชนิดและสมบัติของดิน” จากอินเทอร์เน็ต นำดิน 3 ประเภท (ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว) ใส่กระบะทั้ง 3 กระบะมาให้เด็ก ๆ ได้สังเกตและสัมผัส เด็ก ๆ ร่วมกันสำรวจและแสดงความคิดเห็น สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างของดินแต่ละกระบะ ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิน กว่าจะมาเป็นดิน มีส่วนประกอบของอะไรบ้าง ดินมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อสัมผัสแล้วเป็นอย่างไร
           สัปดาห์ที่สอง วันจันทร์ ครูให้เด็ก ๆ ดูชาร์ตส่วนประกอบของดินและสนทนาร่วมกันถึงกระบวนการสร้างดิน ถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องของดินต่อไปกับเด็ก ๆ ว่า “อยากรู้ว่าทำไมดินถึงใช้ได้และทำไมต้นไม้ต้องเกิดขึ้นในดิน ? ”เด็กและครูร่วมกันสืบค้นวิธีการหาคำตอบ
          ครูพาเด็ก ๆ ไปสำรวจดินนอกห้องเรียนบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน มีคุณครูนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คุณครูซี และคุณลุงภารโรง ชื่อ ลุงศักดิ์ ให้ความรู้แก่เด็กๆ เมื่อกลับมาถึงห้องเรียน ครูถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องของดินต่อไป
      22092557 3ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “ดินและส่วนประกอบของดิน” จากอินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากสิ่งที่สงสัย
          วันอังคาร ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “รักษ์ป่า” ให้เด็ก ๆ ได้ดูและร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็น (ดิน-น้ำ-อากาศ) เด็กและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวิดีโอที่ได้ดูไปเมื่อเช้านี้ ครูถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของดินต่อไป
          สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตออนไลน์ร่วมกัน ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “ประโยชน์ของดิน” เมื่อดูเสร็จแล้วครูและเด็ก ๆ ร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากสิ่งที่สงสัย
          ครูแนะนำแบบสอบถามโครงงานดินมหัศจรรย์ที่จะให้เด็ก ๆ นำกลับไปถามคุณพ่อคุณแม่และผู้รู้เพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายแล้วนำกลับมาเล่าประสบการณ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันต่อไป
          วันพุธ ครูทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อวานเกี่ยวกับประโยชน์ของดิน นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสนทนากัน เด็ก ๆ ร่วมกันวาดภาพประโยชน์ของดินลงในชาร์ตในแต่ละกลุ่ม และออกมานำเสนอหน้าห้อง ครูนำตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาของจริงมาให้เด็กได้สังเกตและสัมผัส ถึงความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ สี ขนาด โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีความหลากหลาย
      เด็ก ๆ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ของเรื่องราว “ดินมหัศจรรย์” และเชื่อมโยงไปยังจุดแรกเริ่ม คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เด็ก ๆ สนใจ และร่วมกันตอบคำถาม
         22092557 5
ครูเลือกเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “เครื่องปั้นดินเผา” ให้เด็ก ๆ ได้ดูและสนทนาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เด็ก ๆ เลือกปั้นดินน้ำมันและดินเหนียวที่มีในห้องตามจินตนาการ
         วันพฤหัสบดี ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันร้องเพลง “โลกให้ชีวิต” พร้อมทำท่าทางประกอบตามจังหวะเพลง ครูเปิดคลิปวิดีโอ นิทานเรื่อง “โลก” [The Earth] (ดิน-น้ำ-อากาศ) ให้เด็ก ๆ ได้ดู หลังจากนั้นร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็น
        ครูสวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ผ่าแอปเปิลลูกโตเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ดูส่วนประกอบต่าง ๆ ของโลกว่ามีดินกี่ส่วน น้ำกี่ส่วนและแต่ละส่วนมีความสำคัญเพียงใด ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้ว่า ทำไมดินถึงมีประโยชน์กับโลกอย่างนี้ ? โลกเกิดมาจากไหน ? ตามเนื้อหาที่ได้เคยเรียนรู้มาโดยเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ เด็ก ๆ ได้ดูชาร์ตโลกกับดิน และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
         เด็ก ๆ สืบค้นเรื่องราวของ “ดินมหัศจรรย์” ในห้องสมุดตัวตนเองตามความสนใจแล้วนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ และครูฟัง ครูเปิดคลิปวิดีโอ นิทานเรื่อง “โลก” [The Earth] (ดิน-น้ำ-อากาศ) ให้เด็ก ๆ ได้ดู หลังจากนั้นร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ วันศุกร์ ครูทบทวนความรู้ของเด็ก ๆ จากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่าง ๆ นำชาร์ตคำถาม ที่เด็ก ๆ ร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรกมาให้เด็ก ๆ ตอบคำถามนั้น ๆ ด้วยตนเอง พร้อมกับดูสาระนิทัศน์ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้ทำร่วมกันตลอดการศึกษาเรียนรู้โครงงานประกอบ
22092557 11
          ทบทวนความรู้ของเด็ก ๆ จากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่าง ๆ พร้อมกับดูสาระนิทัศน์ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้ทำร่วมกันตลอดการศึกษาเรียนรู้โครงงานประกอบ พร้อมทั้งมีวิทยากรเพิ่มเติม คือ “ครูเต่า” จากศูนย์ศิลปหัตถกรรมล้านนา วิทยากรและเด็ก ๆ ร่วมกันเรียนรู้และปั้นดินเหนียวตามจินตนาการโดยเด็ก ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านลงมือทำด้วยตนเอง และได้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสายสร้อยอนุกรมจากดินเหนียว
          เด็ก ๆ และครูตกลงกันที่จะจัดนิทรรศการ “ดินมหัศจรรย์” ขึ้น ภายในห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 โดยแบ่งเป็นมุมการเรียนรู้ต่างๆ
          สสวท. เน้นย้ำว่า การจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7


วัน พฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม 2557



อุปกรณ์

1.แกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษ (paper)
3.กรรไกร(scissors)
4.ไหมพรม(Yarn) 
5. กาว(Glue)
6.ที่เจาะกระกาษ


วิธีการทำ 1. ตัดแกนกระดาษทิชชู ครึ่งแกน
               2. เจาะรูที่แกนกระดาษทิชชู
               3. วาดภาพที่ชอบลงไปในกระดาษวงกลม
               4. ติดกระดาษไว้บนแกนกระดาษทิชชู
               5. ร้อยไหมพรมเข้าในรู มัดปมตรงปลาย
วิธีการเล่น 1. เอาเชือกคล้องคอ
                2.กางออกแล้วขยับเรื่อยๆ แกนกระดาษทิชชูก็จะเลื่อนขึ้นจนสุด

ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้

               1. เด็กได้รู้จักการสังเกต
               2.เด็กได้ทดลอง
               3.ได้ใช้จินตนาการของเด็กในการวาดรูปที่ตนชอบ  
                                              


ความรู้ที่ได้รับ



           กิจกรรม1. อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละแผ่นเล็กๆ ตัดให้เท่ากับรูของแกนทิชชู่(Tissue paper) แล้ววาดภาพลงกระดาษที่ตัด
          สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
การสังเกต ( observation )
การที่เด็กได้ลงมือกระทำ
เกิดทักษะการเรียนรู้ ( Skill )
การสร้างชิ้นงาน
การปฏิบัติจริง ( Practicality )
บูรณาการจากศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมที่2เพื่อนออกมาสรุปบทความของตัวเอง
1. สอนวิทยาศาสตร์จากเป็ด ( Duck ) และไก่ ( Chicken)
2. จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ
3. ส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็ก
4. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ ( Natural Phenomenon )
5. การสอนลูกเรื่องอากาศ ( Climate )

การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย เพื่อนำทักษะวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็ก นอกจากนี้ยังมีทั้งแนวคิดพื้นฐาน วิธีการ เจตคติ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ การสร้างชิ้นงานโดยเด็กจะได้สังเกตจากเพื่อน สรุปจากเพื่อน เราแปลงความรู้ให้มาเป็นกิจกรรมให้มากที่สุด เด็กก็จะได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง การปฏิบัติจริง กิจกรรมมาบูรณาการได้จากศิลปะสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ โดยเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว เช่น การทดลอง ค้นหา สังเกต เป็นต้น สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย
          การประเมินหลังการเรียน
     ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
     อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น



สรุป วีดีโอ (Reviewed Video) เรื่องความลับของแสง




สรุป วีดีโอ (Reviewed Video) 

เรื่อง ความลับของแสง


        นิทานจะช่วยสอน ปลูกฝังให้เด็กเป็นเด็กดีพบเรื่องราวเเสนสนุก 2 ภาษาคือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  เพื่อเพิ่มความเก่ง เพิ่มพูนปัญญา  และนิทานก็ยังให้มากกว่าความสนุกสนาน กระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการ มาพบกับนิทานในรูปแบบใหม่หรือในรูปแบบปัจจุบันมีภาพที่เสมือนจริง ที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษา และเป็นสื่อการเรียนรู้ได้ดี

แสง 
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที  ถ้าเราวิ่งเล่นเท่าเเสงจะวิ่งถึงรอบโลกได้ตั้ง 7 รอบ ใน 1 วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสง เราก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 

คุณสมบัติของแสง   
   
การทดลองที่1
 อุปกรณ์           1.กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง
                        2.อุปกรณ์ของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา
 วิธีการทดลอง   นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่องหนึ่งรู นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองเข้าไปที่รูที่เจาะ เราจะไม่สามารถมองเห็นตุ๊กตาที่เราใส่ไว้ เนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่องออก จะเห็นว่ามีอะไรในกล่อง จากนั้นเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง
            แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้


การทดลองที่ 2 

อุปกรณ์            1.กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น
วิธีการทดลอง    เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน


การทดลองที่ 3 
อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง
                       2
.ภาพต้นแบบ
วิธีการทดลอง  ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แต่ทำไมมันกลับหัวเเละลองหมุนภาพกลับหัวสิ  แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว
 จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน

การสะท้อนของแสง

การทดลองที่1
อุปกรณ์      1. ไฟฉาย
                  2. กระจกเงา
การทดลอง    วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ


การทดลองที่2 เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป
อุปกรณ์      1. กระจกเงา 3 บาน
                  2. ภาพ
การทดลอง   นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ

การหักเหของแสง

 คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห
     การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น
การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ
     การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ
    การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
    คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ

                                                       เงา 
    
เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง
การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวตถุมาขวางทางเดินของแสง

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6 

วัน พฤหัสบดี ที่่ 25 กันยายน 2557





Activities "กระดาษร่อนหมุนหรรษา"


ขั้นตอนการทำ
  1.  ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า





2.            2.  พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน 



3.                3.ตัดกระดาษทั้ง โดยที่สัดส่วนไม่เท่ากัน ดังภาพ





4.                4.พับปลายกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดประมาณครึ่งเซนติเมตร



5.             

                     5. นำคลิปกระดาษมากัดไว้ทั้งอัน





 ความรู้ที่ได้รับ


            กิจกรรม1.อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละแผ่นแล้วตัดครึ่งพับแล้วก็ใช้คลิปติดปลายกระดาษ แล้วให้แต่ละคนออกไปโยนหน้าชั้นเรียน
         สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
-                 การสังเกต ( observation )
                  การเกิดแรงโน้มถ่วง ( The gravity )
-                แรงต้านทาน( resistance )ที่ทำให้เกิดการหมุน( rotation )
      การทดลอง ( trials ) การเล่น ( play  ) เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองเรียกว่า        การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้(Learning)

กิจกรรมที่2.เพื่อนออกมาสรุปบทความของตัวเอง
1.            แสงสีในชีวิตประจำวัน
2.            เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
3.            สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4.            วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5.            การทดลองทางวิทยาศาสตร์
-                                                 
        กิจกรรมที่3.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาแปะกระดาษหน่วยการเรียนรู้ของตัวเอง


















คำศัพท์

                                 1.  การสังเกต ( observation )
                                 2.  แรงโน้มถ่วง ( The gravity )
                                 3.   แรงต้านทาน( resistance )
                                 4.  การหมุน ( rotation )
                                 5.  การทดลอง ( trials )
                                 6.  การเล่น ( play )
                                 7.  การเรียนรู้(Learning)
                                 8.  การสื่อสาร ( Communication )
                                 
การนำไปประยุกต์ใช้

      สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยและตามขั้นพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เด็กเกิดความสนุกสนาน มีความสามัคคีในหมู่คณะ การทำงานร่วมกับเพื่อน เพื่อเด็กจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การประเมินหลังการเรียน
          ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
       เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
          อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น