บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7
วัน พฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม 2557
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษ (paper)
3.กรรไกร(scissors)
4.ไหมพรม(Yarn)
5. กาว(Glue)
วิธีการทำ 1. ตัดแกนกระดาษทิชชู ครึ่งแกน
2. เจาะรูที่แกนกระดาษทิชชู
3. วาดภาพที่ชอบลงไปในกระดาษวงกลม
4. ติดกระดาษไว้บนแกนกระดาษทิชชู
5. ร้อยไหมพรมเข้าในรู มัดปมตรงปลาย
วิธีการเล่น 1. เอาเชือกคล้องคอ
2.กางออกแล้วขยับเรื่อยๆ แกนกระดาษทิชชูก็จะเลื่อนขึ้นจนสุด
ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้
1. เด็กได้รู้จักการสังเกต
2.เด็กได้ทดลอง
3.ได้ใช้จินตนาการของเด็กในการวาดรูปที่ตนชอบ
ความรู้ที่ได้รับ
สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
การสังเกต ( observation )
การที่เด็กได้ลงมือกระทำ
เกิดทักษะการเรียนรู้ ( Skill )
การสร้างชิ้นงาน
การปฏิบัติจริง ( Practicality )
บูรณาการจากศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมที่2. เพื่อนออกมาสรุปบทความของตัวเอง
1. สอนวิทยาศาสตร์จากเป็ด ( Duck ) และไก่ ( Chicken)
2. จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ
3. ส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็ก
4. สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ ( Natural Phenomenon )
5. การสอนลูกเรื่องอากาศ ( Climate )
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัย เพื่อนำทักษะวิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับเด็ก นอกจากนี้ยังมีทั้งแนวคิดพื้นฐาน วิธีการ เจตคติ ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ การสร้างชิ้นงานโดยเด็กจะได้สังเกตจากเพื่อน สรุปจากเพื่อน เราแปลงความรู้ให้มาเป็นกิจกรรมให้มากที่สุด เด็กก็จะได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง การปฏิบัติจริง กิจกรรมมาบูรณาการได้จากศิลปะสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวและจังหวะ เสริมประสบการณ์ โดยเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว เช่น การทดลอง ค้นหา สังเกต เป็นต้น สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วย
การประเมินหลังการเรียน
ตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน
อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น