วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13


วัน  พฤหัสบดี  ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


 เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนของวันนี้

กิจกรรมที่ 1 วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นที่เป็นสื่อวิทยาศาสตร์มาส่ง แล้วให้นำไปวางเป็นหมวดหมู่ของเเต่ละประเภทในทางวิทยาศาสตร์  

การเกิดจุดศูนย์ถ่วง

การใช้เเรงดันลม/อากาศ

การเกิดเสียง

 การใช้พลังงาน/การเกิดเเรง


 จัดเล่นตามมุม


 การใช้เเรงดันน้ำ คือ สปริงเกอร์

กิจกรรมที่ 2  การนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย 
 วิจัยเรื่องที่ ภ  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย: ณัฐชุดา สาครเจริญ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทักษะวิทยาสาสตร์ทั้ง 6 ด้าน คือ
1.การสังเกต
2.การจำเเนก
3.การวัด
4.มิติสัมพันธ์
5.การสื่อสาร
6.การลงความเห็น

รูปเเบบศิลปะสร้างสรรค์ 6 รูปเเบบที่นำมาจัดประสบการณ์
1.ศิลปะย้ำ
2.ศลปะปรับภาพ
3.ศิลปะเลียนเเบบ
4.ศิลปะถ่ายโยง
5.ศิลปะบูรณาการ
6.ศิลปะค้นหา

มโนทัศน์ คือ เเนวคิด
กิจกรรมการสอนเสริมประสบการณ์ เช่น การทำอาหารที่ใช้อุปกรณ์ในห้องครัว


 วิจัยเรื่องที่ 2 ผลการบันทึกการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

มิติสัมพันธ์ ความสามารถในการมองเห็น  การเข้าใจ และการจำเเนก

การจัดกิจกรรม
 การให้เด็กทดลอง    
 การสื่อความหมาย 
 การวาดภาพระบายสี
 การบันทึก


วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ผู้วิจัย:  เสาวภาคย์ สว่างจันทร์
พัฒนาทักษะ การจำเเนก การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การหาความสำคัญ การจัดหมวดหมู่
เครื่องมือวัด คือ แบบประเมินการจะเเนก การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์
การสอนเเบบสืบเสาะ
1. ครูเเละเด้กร่วมกันตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์
2. สำรวจ ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูล
3. หาคำตอบพร้อมอธิบาย
4. การนำเสนอ
คำถาม : หน่วยฝน เด็กๆรู้จักบรรยายกาศก่อน และ หลังฝนตกไหม แล้วเป็นบรรยายกาศอย่างไร

 วิจัยเรื่องที่ 4 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 6 ด้าน
1. การสังเกต
2. การจำเเนก
3. การเเสดงปริมาณ
4. มิติสัมพันธ์
5. การสื่อความหมาย
6. การเเสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 3 การทำCooking เมนูการทำขนมวาฟเฟิล

อุปกรณ์ 
1.ที่ตีไข่
2.ชามขนาดใหญ่
3.ถ้วยเล็ก
4.ช้อน
5.จาน
6.ไข่ไก่
7.เเป้งวาฟ
8.เฟิลน้ำ
9.เนย
10.เตาที่ทำวาฟเฟิล
                                                        
ขั้นตอนการทำ
1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ ถ้วย/ชามขนาดใหญ่  ช้อน ที่ตีไข่ เเป้งวาฟเฟิล เนยที่ทำขนม จาน เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
2. ขอตัวเเทนอาสาสมัครมาใช้ครูจัดของเเบ่งออกให้เป็น 6 กลุ่ม
3. ให้ตัวเเทนอกมารับอุปกรณ์ แล้วก็ช่วยกันทำ เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ตีไข่ให้คนเข้ากัน ใส่เนยลงไปตีให้ละเอียด แล้วค่อยๆเทเเป้งวาฟเฟิลลงไปพร้อมกับใส่น้ำที่ละนิดคนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน พอเสร็จเรียบร้อยเเล้วก็ตักใส่ถ้วยเล็กๆไว้ตามจำนวนกลุ่มของตนเอง เเล้วนำมาเทลงบนเตาที่ทำวาฟเฟิลปิดเตาไว้รอจนสุกได้ที่ แล้วก็นำมาใส่จานรับประทานได้เลย

ประเมิน
1. ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอวิจัย ซึ่งเป้นวิจัยที่มีเนื้อหาสาระที่ดีเหมาะกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยทางด้านวิทยาศาสตร์ มีตัวอย่างการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เราสามารถนำไปเป็นโครงเรื่องในการเขียนเเผนการสอนให้กับเด็ก เเละวันนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งจากอาจารย์  คือการจัดกิจกรรมการทำCooking ทำขนมวาฟเฟิลที่มีวิะีการทำไม่ยุ่งยากเเละไม่สับซ้อนเหมาะกับไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งเนื้อหาความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ดิฉันจดบันทึกว้เพื่อที่จะได้นำไปใช่ในการฝึกสอนในอนาคตได้
2.ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สนุกสนานกันในการเรียนวิชานี้
3.ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามาก เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีเทคนิควิธีการสอนดีมาก มีการเเนะนำวิจัยการพูดหน้าชั้นเรียน และอธิบายงานวิจัยเพิ่มเติมจากที่เพื่อนพูด เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น มีการใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ และทบทวนความรู้ในงานวิจัยของเพื่อนๆ  มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking ที่ไม่ให้นักศึกษาเกิดความวุ่นวายเลย มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอสำหรับเด็ก มีการสาธิตวิธีการทำให้นักศึกษาได้ดู และมีพูดถึงข้อควรระวังในความปลอดภัยในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรมมากยิ้มหัวเราะกันอย่างมีความสุขในช้้นเรียน

สรุปความรู้เรื่องอากาศ



สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)
                                        

อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่
ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่
รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ใน
บ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น
ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ
ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ
ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)                                    
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา
แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น
มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก
เป็นต้น
ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง
บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก
ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด
ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น
จำนวนมาก
อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ
สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์
เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย
ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ
ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ
ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ
อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้
อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้
ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว
โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ
ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

                                                                                       
บันทึกการเรียนการรสอนครั้งที่ 12




วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


เนื้อการเรียนวันนี้ การพูดสรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เเบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม5เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ

สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
วิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เเผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ผลการวิจัยสรุป
         กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทาน ซึ่งนิทานเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เมื่อฟังนิทานจบเด็กได้ประดิษฐ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

 วิจัยเรื่องที่ 3 การศึกษาผลของรูปเเบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง

สรุปผลการวิจัย           วิจัยการศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ทำการทดสอบด้วยเเบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์ เมื่อเสณ้จการทดลองก็นำเเบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งเเล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ


ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 
 2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร

สรุปผลการวิจัย
1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจ าแนกรายทักษะ หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยูมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วิจัยเรื่องที่ 5 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

เครื่องที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
  • การจำเเนก
  • การวัดปริมาณ
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การลงความเห็น
สรุปผลการวิจัย
เน้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำมาเล่นตามจินตนาการ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนของจอห์น ดิวอี้

วิจัยเรื่องที่ 6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร

     การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง 1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง (Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยาง และดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่อดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลที่ไดจาก การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางวิทยาศาสตร์


วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ  

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุดได้เเก่
1 แบบทดสอบด้านการจำเเนก 
2 การจัดประเภท  
3 อุปมาอุปมัย  
4 อนุกรม 
5เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

เทคนิกการสอน
1.การสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง
2.การสรุปผลคิดวิเคาระห์เนื้อหาความรู้ในงานวิจัย
3.การถ่ายทอดความรู้เนื้อหาในงานวิจัยจากการสรุปผล แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกเกิดความคิดและเกิดความสงสัยอยากรู้อยากเห็นในการจะศึกษาค้นข้อมูลความรู้เพิ่มเติม
5.การให้คำเเนะนำในการออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และคำเเนะนำในเนื้อหาความรู้ของงานวิจัยที่นักศึกษาได้สรุปผล

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การนำความรู้ในงานวิจัยทางวิทยาสตร์ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความเนื้อหาที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
2.การนำงานวิจัยมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การสอนเด็กในเรื่องธรรมชาติรอบๆตัวที่เราสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาต่างๆได้
4.การนำงานวิจัยปรับใช้ให้ง่ายขึ้นต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5.การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก

ประเมิน





วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

กิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบกและจรวจ


สรุปโทรทัศน์ครู



 
เรื่อง  
กิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบกและจรวจ 


 ขั้นนำ
            1. ครูใช้คำถามถามเด็กๆ ว่าใครเคยไปสวนสัตว์
           2. เด็กเคยเห็นบ่อน้ำในสวนสัตว์ที่มีเรือมั้ย
           3. เด็กๆเคยเห็นเรือที่ไหนบ้าง 
           4. ครูถามเด็กๆว่าถ้าเรือไม่แล่นในน้ำจะแล่นที่ไหนได้บ้าง

 ขั้นสอน
             1. ครูนำอุปกรณ์มาทำการทดลองให้เด็กดู อุปกรณ์ แกนกระดาษทิชชู่ ดินน้ำมัน หลอดกาแฟ                       ถ้วยโฟม
              2. วาดวงกลมที่ใต้ถ้วยโฟม แล้วตัดออกไป 
              3. เอาแกนทิชชู้ใส่ลงไป
              4. ให้เด็กเป่าเรือแล้วให้เด็กสังเกตว่า เรือเคลื่อนที่ได้อย่างไร  
สรุป
        1. ครูสนทนาเกี่ยวกับการทดลองว่า การเป่าลมเข้าไปในแกนกระดาษทำให้เกิดทรงดันอากาศ                     เข้าไปในเรือทำให้เรือยกตัวขึ้น

 กิจกรรมที่ 2 สรุป 

 เมือเป่าลมเข้าไปในหลอดแรงๆอากาศภายในจะถูกกดกลายเป็นแรงดันอากาศที่ทำให้จรวดที่ทำจากหลอดพุ่งออกไปได้ ข้อสังเกต จรวดจะไปใกล้ไกลต้องทำอย่างไร 
1. เป่าแรงๆ
 2. ขนาดสั้นยาวของหลอด (หลอดยาวจะไปไกลกว่าหลอดสั้น)
 3. ขนาดน้ำหนักของน้ำมัน



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่11

วัน  พฤหัสบดี  ที่  6 พฤศจิกายน  พ. ศ. 2557



เนื้อหากิจกรรมการเรียนวันนี้
กลุ่มที่ 1 สอนเรื่องชนิดของกล้วย  

หน่วย Banana


       ครูจะสอนเด็กเรื่องกล้วย ครูอาจจะทำจดหมายถึงผู้ปกครองให้เด็กๆนำกล้วยมา เพื่อให้เด็กได้ศึกษาสื่อที่เป็นของจริง

กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของไก่
หน่วย Chicken 



      ครูเเจกจิกซอให้เด็กๆ โดยใช้เพลงแล้วให้เด็กๆหลับตาเมื่อเพลงจบให้เด็กๆลืมตาแล้วต่อจิกซอเป็นภาพไก่

กลุ่มที่ 3 สอนเรื่อง วัฏจักรของกบ
หน่วย  Frog 

ครูเปิดวีดีโอให้เด็กๆดูเรื่องวัฏจักรของกบ หรือเล่านิทานเรื่องกบให้เด็กๆฟัง
จากวีดีโอที่เด็กได้ดูก็จะมี เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ
กลุ่มที่ 4 สอนเรื่อง ประโยชน์ และข้อพึงระวังของปลา
หน่วย Fish 


 ครูเล่านิทานเกี่ยวกับปลา แล้วพูดสอดเเทรกโดยใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่าปลานี่เราสามารถเอาไปทำอาหารอย่างไรได้บ้างค่ะ  เด็กๆตอบคำถามจากประสบการณ์เดิมที่เขามีอยู่ เช่น เอาไปทอด นึ่ง  ต้มยำ เป็นต้น

กลุ่มที่ 5 สอนเรื่อง    ทำเมนูทาโกยากิจากข้าว
หน่วย Rice 


  ครูเตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสมไว้เรียบร้อย โดยให้เด็กๆเห็นอุปกรณ์ ส่วนผสมที่เตรียมไว้
ครูบอกชื่อ และส่วนผสม และให้เด็กๆสังเกต และครูให้เด็กๆตั้งสมมติฐาน
                
กลุ่มที่ 6 สอนเรื่องชนิดของต้นไม้
Tree 

 ครูพูดกลอนรือคำคล้องจองเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้
ครูใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่ามีต้นไม้อะไรบ้าง แล้วนอกจากต้นไม้ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรอีก
กลุ่มที่ 7  สอนเรื่อง ลักษณะของนม
หน่วย Milk 
         

    ร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะทดลองหยดน้ำยาล้างจานใส่นม และสีผสมอาหารลงไป

 กลุ่มที่ 8 สอนเรื่อง การอนุรักษ์น้ำ
หน่วย  Water 

        
    ร้องเพลง อย่าทิ้ง แล้วเล่านิทาน เรื่อง หนูนิด โดยสอดเเทรกคำถามปลายเปิด ขณะเล่านิทานจากนั้นก็ให้เด็กทำป้ายข้อความ บอกไม่ให้คนทิ้งขยะ  ในหน่วยศิลปะสร้างสรรค์       

         กลุ่มที่ 9 สอนเรื่อง การปลูกมะพร้าว
   หน่วย Coconut


ครูบอกขั้นตอนการปลูก จากนั้นครูก็ใช้เพลง ลมเพลมลมพัด  ทำให้ภาพปลิวสลับกันมา เพื่อให้เด็กๆออกมาเรียงลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง จากที่ครูได้สอนหรือบอก เพื่อทบทวนความรู้ของเด็กๆ 
                 
         กลุ่มที่ 10  สอนเรื่อง  ทำเมนูผลไม้ผัดเนย 
 หน่วย Fruit

         
ครูสาธิตวิธีการทำ แล้วให้เด็กๆสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อใส่เนยลงเตา เนยละลาย เพราะถูกความร้อน  ผลไม้นิ่มขึ้น เพราะความร้อน ครูบอกเด็กหรือถามเด็กจากที่เด็กได้สังเกต

Teaching 
  • การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
  • การเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิม
  • ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์  การนับจำนวน การเปรียบเทียบ การจำเเนก
  • การนำเสนอกิจกรรมการสอนเสริมประสบการณ์สอนเสร็จ อาจารย์จะให้คำเเนะนำเพิ่มเติม
 Application
  • สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้ตรงตามเเผนอย่างถูกต้อง
  • การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่หลากหลายและสามารถบรูณาการกับวิชาอื่นๆได้
  • การสอนเด็กทำอาหาร ครูต้องดูเเลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด ต้องระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น เตาที่ทำอาหารควรอยู่ห่างจากตัวเด็ก เเละบอกเด็กถึงอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆในเรื่องของการใช้อย่างถูกวิธี
ประเมิน
  • การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทั้ง10กลุ่มที่ได้ออกมาสอนให้เพื่อนดู 
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆตั้งใจฟัง และสนใจสื่อการสอนเสริมประสบการณ์ที่เพื่อนตัวเเทนได้ออกมานำเสนอ ทุกคนในห้องเรียนสนุสนานากในการร่วมกิจกรรมการทำโกทายากิ และผลไม้ผัดเนย ซึ่งได้ทั้งความรู้และความอร่อยอย่างมึความสุข
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำและวิธีการสอนที่เป็นทางที่นักศึกษาสามารถนำไปฝึกสอนหรือใช้ในอนาคตได้ และอาจารย์ยังใช้คำถาม 

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วัน พฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม 2557
เนื้อหาการเรียนที่ได้รับในวันนี้

       สาระที่ควรเรียนรู้  
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • บุคคล และสถานที่
  • สิ่งต่างๆรอบตัว
  • สิ่งที่เกี่ยวกับตนเอง
      ประสบการณ์สำคัญ  
      ทำให้เกิดการเรียนรู้ เพราะประสบการณ์เป้นการลงมือกระทำแล้วเกิดการรับรู้  เชื่่อมโยงประสบการณ์เดิม ปรับเป็นประสบการณ์ใหม่  เกิดการปรับตัวให้ดำรงอยู่รอด
ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 
 ดูจากกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
กระบวนการทดลองวิทยาศาสตร์   
กำหนดปัญหา
ตั้งสมมติฐาน
ทดลอง และสังเกต
  การทดลองวิทยาศาสตร์ 
 การทดลองที่ 1  กิจกรรม 
          ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปกลมๆ เเล้วนำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นวงกลมเเล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำที่เตรียมไว้
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ  ดินน้ำมันจะจมลงไป


 การทดลองที่ 2  ดินน้ำมันลอยน้ำ ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆตามจินตนาการ เช่น รูปถ้วยหรือรูปเรือ ที่มีความบางไม่หนาจนเกินไป แล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำ สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ดินน้ำมันจะลอยน้ำ เพราะมีความบางเเละน้ำหนักเบา
การทดลองที่ 3  ดอกไม่บาน ตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ ตกเเต่งให้สวยงาม จากนั้นพับกลีบดอกไม้เข้าข้างใน  เเล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ กลีบดอกไม้จะค่อยๆบานออก
 การทดลองที่ 4  แรงดันน้ำ  นำขวดน้ำมาเจาะรู 3 รู ตามเเนวตั้งของขวด เเล้วปิดเทปไว้ทั้ง3รู จากนั้นเทน้ำลงไปในขวดแล้วปิดฝาขวด
การทดลองที่ 5  นำขวดน้ำมาจอรูแล้วเติมนำลงไปให้เติมปิดฝาน้ำจะไม่ไหลถ้าเปิฝานำก็จะไหลออกมาเพราะธรรมชาติน้ำจะไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แล้วมีเเรงดันอากาศที่เกิดเป็นน้ำพุออกมา
การทอดลองที่ 6 เทียนครอบแก้ว
การทดลองที่ 7 การไหลของน้ำ
การทดลองที่ 8  การหักเหของแสง
การทดลองที่ 9  เทียนดูน้ำ

การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับไปประยุกต์ให้เกิดความแปลกใหม่ได้ เช่น น้ำ ทำให้เกิดการขยายของวัตถุได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแว่นขยาย ใช้ในการเรียนการสอนได้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการได้เป็นอย่างดี
  • สามารถสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างหลากหลาย มีวิธีการง่ายไม่ซับซ้อน  และให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งที่ตนเองได้ทดลอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย 
เทคนิกการสอน
  • ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ความรู้ที่หลากหลาย
  • ครูใช้คำถาม ทำไม เพราะอะไร เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสงสัย เเล้วอยากหาคำตอบ
  • ทักษะวิทยาศาสตร์ในเรื่องการทดลอง
  • ทักษะการสังเกต การคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงจากการทดลอง
  • ทักษะความรู้ในเรื่อง การหักเเหของเเสง
ประเมินผลการเรียนการสอน
  • การประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนการทดลอง รู้สึกตื่นเต้น และสนุกสนานมากเพราะการทดลองมีหลากหลายวิธี สามารถนำไปประยุกต์ และนำไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้  พร้อมกับจดบันทึกเนื้อหา และขั้นตอนการททดลองต่างๆ ทุกขั้นตอน 
  • การประเมินเพื่อน: เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบเพื่อนๆสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการทดลองต่างๆ อย่างตั้งใจมีการตอบคำถามในสิ่งมี่อาจารย์ถามทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากขึ้น นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนและทำกิจกรรมร่วมกัน 
การประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสม โดยอาจารย์นำสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเรียน หรือการทดลอง มีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับให้นักศึกษาทุกคนได้ใช้ทดลอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษาเพื่อกระตุ้นความคิด และทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม